วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

HeartRate Monitor


HeartRate Monitor

  • PDF
heartrate-titleอีกความปรารถนาหนึ่งของนักสร้างโครงงานอิเล็กทรอนิกส์นั่นคือ การสร้างเครื่องมือวัดปริมาณทางการแพทย์ในแบบที่พอจะดูแนวโน้มว่า ร่างกายของเรามันน่าจะปกติหรือกำลังมีแนวโน้มว่าจะมีปัญหา ที่ทำกันได้ง่ายหน่อยก็คือ เทอร์โมมิเตอร์เพื่อนำมาวัดอุณหภูมิร่างกาย แต่ที่นำมาเสนอให้ลองสร้างกันนี้ มันเจ๋งกว่านั้นเยอะ เพราะนี่คือ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate monitor)


ตัวตรวจจับการเต้นของหัวใจ - เพราะมีสิ่งนี้จึงทำให้มีโครงงานนี้
โครงงานนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีตัวตรวจจับพิเศษที่ทำหน้าที่ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจแล้วส่งค่าออกมาเป็นพัลส์ ในรูปที่ 1 แสดงหน้าตาของตัวตรวจจับอัตราการเต้นหัวใจที่ใช้ในโครงงานนี้ การวัดของตัวตรวจจับนี้จะเป็นการวัดทางอ้อมด้วยการหนีบหัววัดเข้าที่ใบหูหรือปลายนิ้ว ดังรูป
heartrate-uniconboard-001

heartrate-uniconboard-002

สัญญาณจากหัววัดจะส่งไปยังหน่วยประมวลผลสัญญาณที่อยู่ในกล่องพลาสติกเล็กๆ จนได้เป็นสัญญาณพัลส์ที่สัมพันธ์กับอัตราการเต้นของหัวใจส่งออกมายังไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อประมวลประมวลและตีความ ก่อนแสดงค่าที่วัดได้ผ่านทางจอแสดงผลหรือคอมพิวเตอร์ต่อไป
การเชื่อมต่อและทดสอบ
รูปด้านล่างเป็นวงจรการเชื่อมต่อบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Unicon ที่มีการติดตั้งบอร์ดแสดงผลกราฟิก LCD สีรุ่น GLCD-XT และชุดอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ZX-HeartRate โดยวงจรและข้อมูลของบอร์ดแสดงผล GLCD-XT แสดงไว้ในกรอบแยกที่ 1
heartrate-uniconboard-003


heartrate-uniconboard-004

เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน
โปรแกรมควบคุมการทำงานแสดงในโปรแกรมที่ 1 แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ

1. ฟังก์ชั่น bubbleSort ทำหน้าที่จัดเรียงข้อมูลของพัลส์ที่ได้มาจากตัวตรวจจับ แล้วทำการตัดค่าที่สูงสุดและต่ำสุดออก จากนั้นนำค่าที่เหลือมาเฉลี่ย เพื่อให้ได้ค่าของสัญญาณที่แน่นอนมากที่สุด
2. ฟังก์ชั่น setup เป็นการเตรียมการเกี่ยวกับการแสดงผลทั้งหมดของโครงงานที่จอแสดงผลกราฟิก LCD สีหรือ GLCD-XT ให้แสดงรูปและข้อความที่ต้องการ
3. ฟังก์ชั่น loop เป็นส่วนของโปรแกรมหลักที่ทำการอ่านค่าจากตัวตรวจจับ ซึ่งเป็นสัญญาณพัลส์ นับค่านำวนพัลส์ที่ได้ภายในเวลาหนึ่งนาที จากนั้นทำการเรียกฟังก์ชั่น bubbleSort เพื่อจัดการให้ค่าอัตราการเต้นของหัวใจมาแสดงผลที่จอแสดงผลกราฟิก LCD สีต่อไป

กรอบแยกที่ 1
heartrate-uniconboard-006
คุณสมบัติที่สำคัญ
• โมดูลแสดงผลแบบกราฟิกสี ความละเอียด 128 x 160 จุด
• แสดงภาพกราฟิกลายเส้นและพื้นสี ไม่รองรับไฟล์รูปภาพใดๆ
• มีไฟส่องหลัง
• แสดงผลเป็นตัวอักษรขนาดปกติ (5x7 จุด) ได้ 21 ตัวอักษร 16 บรรทัด
• มีสวิตช์กดติดปล่อยดับพร้อมใช้งาน (สวิตช์ OK) 1 จุด โดยต่อร่วมกับตัวต้านทานปรับค่าได้  (KNOB) ซึ่งเชื่อมต่อไปยังขาพอร์ต 8 ของบอร์ด Unicon ทำให้อ่านค่าสัญญาณดิจิตอลและอะนาลอกได้ในขาพอร์ตเดียวกัน


กรอบแยกที่ 2 การดัดแปลงสายสัญญาณของตัวตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
สำหรับผู้ที่จัดซื้อ ZX-HeartRate ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจจาก TPE shop หรือ INEX จะสามารถใช้งานกับบอร์ด Unicon ได้ทันที แต่ถ้าหากซื้อมาจาก ThaiEasyElec พันธมิตรของ TPE จะต้องมีขั้นตอนการดัดแปลงสายสัญญาณเล็กน้อย

เตรียมของ
สิ่งที่ต้องใช้ประกอบด้วย หัวแร้งบัดกรี, ตะกั่ว, ไขควงปากแบน, คอนเน็กเตอร์ JST 2 มม. 3 ขาตัวผู้แบบลงแผ่นวงจรพิมพ์, คีมปากแหลมหรือแหนบ และสาย JST3AA-8
ขั้นตอนการดัดแปลง
(1) ใช้ไขควงปากแบนค่อยๆ งัดฝากล่องของชุดประมวลผลสัญญาณออก
heartrate-uniconboard-008

(2) รื้อกาวยางที่ใช้ยึดแผงวงจรออกทั้งหมด
(3) ใชัหัวแร้งปลดสายสัญญาณเดิมออก
(4) บัดกรีคอนเน็กเตอร์ JST 2 มม. 3 ขาตัวผู้แบบลงแผ่นวงจรพิมพ์เข้าไปแทนที่
(5) ใช้กาวสองหน้ายึดแผงวงจรประมวลผลเข้ากับพื้นกล่องด้านใน

(6) นำสาย JST3AA-8 มาสลับสายต่อตามรูป
heartrate-uniconboard-009

(7) เสียบสาย JST3AA-8 ที่สลับสายแล้วเข้ากับคอนเน็กเตอร์ JST 2 มม. 3 ขาตัวผู้ที่เปลี่ยนใหม่จากขั้นตอนที่ (4) อาจใช้กาวตราช้างหยดลงไปเล็กน้อยเพื่อช่วยให้การเชื่อมต่อแน่นหนามากขึ้น
heartrate-uniconboard-010

(8) ค่อยๆ นำสายสอดผ่านร่องข้างกล่องออกมา หยดกาวยางที่ร่องสาย เพื่อให้สายสัญญาณติดกับกล่อง ไม่ขาดง่ายเวลาบิดสายไปมา แล้วปิดฝากล่องอย่างเดิม
เพียงเท่านี้ก็จะได้ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่พร้อมใช้งานกับบอร์ด Unicon แล้ว

-------------------------------- รายการอุปกรณ์ ----------------------------------
• ZX-HeartRate ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
• บอร์ด Unicon ที่ติดตั้งบอร์ดแสดงผลรุ่น GLCD-XT แล้ว

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอ โปรแกรมควบคุมstep motorได้ป่าวครับ

    ตอบลบ
  2. ขอโค้ดตัวอย่างด้วยได้มั้ย พอดีสนใจผลงานชิ้นนี้

    ตอบลบ